ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 216 รายการ

A045
สี:
ขนาด:
ไม่ระบุไซต์
จำนวนที่สั่งซื้อ :
ราคา:
25,000.00฿ ลดเหลือ 14,500.00฿

Food intolerance Test (216)
ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 216 รายการ

“ภูมิแพ้อาหาร” เมื่อพูดถึงการแพ้อาหาร มักนึกถึงอาการคันมีผื่นขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการแพ้ดังกล่าวนี้เรียกว่า การแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ชนิด IgE ซึ่งจำทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้อย่างรุนแรง แต่การแพ้อาหารชนิด “แฝง” จะแตกต่างออกไปโดยร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ชนิด IgE โดยจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติในทันที

แอนติบอดี้ ชนิด IgE ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะค่อยๆทำลายเนื้อเยื่อของเราเองเนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตราบเท่าที่เรายังบริโภคอาหารที่ร่างกายต่อต้าน จนทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น การทำงานของอวัยวะนั้นก็เสียไปปรากฏเป็นอาการของโรคเรื้องรังต่างๆ ขึ้นอยู่กับอวัยวะใดถูกทำลายไป โดยที่เราหาสาเหตุที่เกิดโรคนั้นไม่ได้ อาการแพ้อาหารแบบแฝง Food Intolerance จะใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ มักแสดงอาการหลากหลาย แต่ไม่รุนแรง มีอาการเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้นๆ แม้อาการแพ้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจเป็นเบื้องหลังของอาการน่ากวนใจบางอย่าง เช่น
- ท้องอืด ท้องผูก ท้องเฟ้อ รู้สึกอึดอัดจากลมและแก๊สในกระเพราะ
- ปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน
- ปวดหัวเรื้อรัง ไมเกรน ไอ จาม จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หอบหืด คัดจมูก
- ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกไม่สบายตัว
- ขอบตาดำหรือมีถุงใต้ตา

Food Intolerance Test (การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง) คืออะไร
ในปัจจุบันสามารถตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญสามารถตรวจหา IgE ในอาหารได้มากกว่า 200 ชนิด

การตรวจ Food Intolerance Test 216 ชนิดอาหาร
มีรายการตรวจดังนี้:
1. ข้าวบาร์เลย์
2. แป้งไกลอะดิน
3. ข้าวโอ๊ต
4. แป้งไรย์
5. แป้งสเปลท์
6. ข้าวสาลี
7. แป้งบักวีท
8. เมล็ดแฟลกซ์
9. ข้าวโพด
10. ข้าวฟ่าง (ข้าวเดือย)
11. ข้าวเจ้า
12. เนื้อวัว
13. เนื้อไก่
14. เนื้อแกะ
15. เนื้อหมู
16. ไก่งวง
17. นมวัว
18. ไข่แดง
19. ไข่ขาว
20. ชีสแพะ
21. นมแพะ
22. นมแกะ
23. ชีสแกะ
24. โยเกิร์ต
25. มะเขือม่วง
26. หัวบีทรูท
27. พริกหยวก
28. บรอกโคลี
29. แครอท
30. ผักขึ้นฉ่าย
31. พริก
32. แตงกวา
33. ฮอสแรดิช (วาซาบิเทียม)
34. ต้นหอมญี่ปุ่น
35. มะกอก
36. หัวหอม
37. มันฝรั่ง
38. กะหล่ำปลีแดง
39. มะเขือเทศ
40. หัวผักกาด
41. บวบ
42. อาร์ติโชก
43. หน่อไม้ฝรั่ง
44. ผักโขม
45. ถั่วแขก
46. ถั่ว
47. ถั่วเหลือง
48. ถั่วเลนทิล (เมล็ดกลมแบนขนาดเล็ก)
49. ถั่วขาว
50. ผักกาดหอม
51. คอร์นสลัด
52. แอปเปิล
53. ผลแอปปริคอต
54. กล้วย
55. เชอร์รี่
56. องุ่น
57. กีวี่
58. มะนาว
59. ลูกท้อ
60. ส้ม
61. สับปะรด
62. สตรอเบอร์รี่
63. แตงโม
64. ลูกแพร์
65. ลูกพลัม
66. ส้มชนิดหนึ่งตระกูลส้มโอ
67. ลูกพีช
68. ผลอินทผลัม
69. ใบโหระพา
70. พริกไทยดำ/ขาว
71. อบเชย
72. กระเทียม
73. เมล็ดมัสตาร์ด
74. ลูกจันทน์เทศ
75. ออริกาโน
76. พาร์สเลย์ และผักชี
77. ใบสะระแหน่
78. เมล็ดป๊อปปี้
79. โรสแมรี่
80. ไธม์
81. วานิลลา
82. ถั่วอัลมอนด์
83. มะม่วงหิมพานต์
84. เมล็ดโกโก้
85. ถั่วเฮเซล
86. ถั่วลิสง
87. ถั่วพิสตาชิโอ
88. งา
89. เมล็ดทานตะวัน
90. ถั่ววอลนัต
91. มะพร้าว และเนื้อมะพร้าว
92. เห็ดผสม เห็ดนางรม เห็ดฟาง เห็ดหอม และเห็ดชองเทอเรลล์
93. เห็ดผสม (Bay Boletus, Boletus)
94. กุ้ง
95. ปลาแซลมอน
96. ปลาทูน่า
97. หอยกาบ
98. กุ้ง
99. ปลาแอนโชวี่
100. ปลาฉนาก
101. ปลาเทราต์
102. ปลาตาเดียว และปลาลิ้นหมา
103. ปลาค็อด
104. ยีสต์สำหรับหมักเครื่องดื่ม
105. ยีสต์สำหรับทำขนมปัง
106. น้ำผึ้ง
107. กาแฟ
108. ชาดำ
109. เมล็ดแครอบ (คล้ายโกโก้ใช้ทำขนม แทนช็อคโกแลต)
110. น้ำมันจากดอกเรปซีด
111. เนื้อเป็ด
112. เนื้อแพะ
113. เนื้อห่าน
114. เนื้อนกกระจอกเทศ
115. เนื้อนกกระทา
116. เนื้อกระต่าย
117. เนื้อกวางตัวเมีย
118. ไก่ต๊อก
119. เนื้อม้า
120. นมหมักมีรสเปรี้ยว
121. เบต้าแลคโตกลอบูลิน (พบในนมวัว)
122. เนย
123. เนยแข็งคาเมมเบิร์ต
124. เคซีน โปรตีนในนมวัว
125. ชีสชนิดเอมเมนทอล
126. ชีสชนิดคอตเตจ
127. ชีสชนิดมอสซาเรลล่า
128. ชีสแปรรูป
129. ชีสนมเปรี้ยว
130. หน่อไม้
131. พืชตระกูลกะหล่ำปลี
132. กะหล่ำดอก
133. ผักชาร์ด
134. ผักกาดขาว
135. เฟนเนล
136. พืชตระกูลบวบ
137. ทานตะวัน และแห้วบัวตอง
138. ผักเคล
139. หัวไชเท้า
140. กะหล่ำปลีใบย่น
141. มันเทศ
142. ใบองุ่น
143. กะหล่ำปลีขาว
144. หอมแดง
145. ชะเอม
146. ถั่วลันเตา
147. ถั่วปากอ้า
148. ถั่วชิคพี
149. ถั่วเขียว (ที่นำมาเพาะถั่วงอก)
150. ถั่วแดง
151. ผักชิโคลี
152. ผักกาดแก้ว
153. ผักรอกเก็ต (ใช้ทำสลัด)
154. อะโวคาโด
155. แบล็กเบอร์รี่
156. บลูเบอร์รี่
157. แครนเบอร์รี่
158. เรดเคอร์แรนต์
159. แบล็กเคอร์เรนต์
160. มะเดือฝรั่ง
161. กูสเบอร์รี่
162. เมล่อนฮันนี่ดิว
163. มะนาว
164. ลิ้นจี่
165. มะม่วง
166. มะละกอ
167. ทับทิม
168. ราสเบอร์รี่
169. โรสฮิพ ผลกุหลาบป่า
170. แคนตาลูป
171. ลูกเกด
172. เมล็ดผักชี
173. ใบกระวาน
174. ดอกคาโมมายด์ และเก๊กฮวย
175. เมล็ดเคเปอร์
176. ใบกุยช่าย และต้นกุยช่าย
177. กานพลู
178. ใบผักชี
179. ยี่หร่า
180. ผักชีลาว
181. ขิง
182. มาเจอรัม
183. หญ้าฝรั่น
184. ผกากรอง (เสจ)
185. พริกป่น
186. เครื่องแกง
187. ใบทารากอน
188. ใบฮอพส์
189. สะระแหน่ ใบมินต์
190. ถั่วบราซิล
191. ถั่วแมคคาเดเมีย
192. ลูกสน
193. เกาลัด
194. ถั่วโคล่า
195. ปลาคาร์พ
196. ปลาหมึกกล้วย
197. ปลาไหล
198. ปลาทรายแดง
199. ปลาแฮดดัก
200. ปลาไพด์
201. ปลาเทเบิล
202. ปลาแฮริ่ง
203. กุ้งล็อบสเตอร์
204. ปลาแมกเคอเรล
205. ปลาหมึกสาย
206. หอยนางรม
207. ปลาซาร์ดีน
208. ปลากะพงแดง
209. ปลากะพง
210. ไข่ปลาคาเวียร์
211. ปู
212. วุ้น ผงวุ้น
213. ว่านหางจระเข้
214. ชาเขียว
215. ผงฟู
216. น้ำมันดอกคำฝอย
 
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ:
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอน
  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนตรวจ
  • ควรสวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
 
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ:
  • การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโรค เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพ ช่วยให้เลือกหรือปรับการรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
 
ภูมิแพ้แบบแฝง (Food Intolerance)
เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ตามปกติ แต่จะไม่แสดงอาการทันที จึงไม่สามารถระบุชนิดอาหารที่แพ้ได้ ต่างจากการแพ้ปกติที่แสดงอาการให้เห็นในเวลาอันสั้น แม้การแสดงออกของการแพ้อาหารแบบแฝงจะไม่รุนแรง แต่ก็ทำให้เกิดอาการเรื้อรังอื่นๆ ได้ จึงควรรีบตรวจหาต้นตอเพื่อการรักษาและดูแลอาการอย่างถูกต้องต่อไป
 
สาเหตุ:
การแพ้อาหารแฝง เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่มี 2 สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ
  • ร่างกายขาดเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหารนั้นๆ ทำให้ไม่สามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ร่างกายไวต่อสารบางชนิดในอาหาร เช่น สารปรุงแต่ง หรือสารที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในอาหาร อาการจะมีมากขึ้นเมื่อรับประทานอาหารชนิดนั้นมากเกินไป
 
อาการที่พบบ่อย:
  • ท้องอืด
  • ท้องผูก
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ
  • ไอ
  • น้ำมูกไหล
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • อ่อนเพลีย
  • มีผื่นคัน
  • ลมพิษ
แม้อาการเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งจากภูมิแพ้อาหารแฝงและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ แต่หากมีอาการบ่อย ๆ หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรักษา
 
วิธีตรวจอาการแพ้อาหารแฝงด้วยตัวเอง:
  • จดบันทึกรายการอาหารที่รับประทานและอาการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
  • งดรับประทานอาหารที่สงสัยว่า อาจเป็นสาเหตุทีละชนิด ราว 2-6 สัปดาห์
  • กลับไปรับประทานอาหารชนิดนั้นอีกครั้ง หากกลับมามีอาการ ก็เป็นไปได้ว่าสาเหตุมาจากอาหารชนิดนั้น
นอกจากนี้ยังสามารถเข้ารับการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันในเลือดที่จำเพาะต่ออาหารแต่ละชนิด (Food specific IgG) เพื่อช่วยระบุชนิดอาหารที่มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงได้
 
หมายเหตุ:
  • หลังจากได้รับผลการทดสอบแล้วนั้น สามารถนำผลที่ได้มาปรับใช้เลือกกินอาหารที่เหมาะสม เพื่อลดอาหารที่ส่งเสริมอาการแพ้
  • ไม่ใช่โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี จึงไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี

รายการที่เกี่ยวข้อง

MAP


Address: 22/22 โครงการ Workplace2 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230